THAI ART IN 2021

art4d ชวน อังกฤษ อัจฉริยโสภณ พูดคุยถึงภาพรวมของวงการศิลปะร่วมสมัยไทยตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา ที่เจอกับความท้าทายทั้งการเกิดโรคระบาด เศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงในแวดวงศิลปะครั้งใหญ่อย่างการมาของ NFT พร้อมเผยนิทรรศการที่เขาชื่นชอบที่สุดของปี 2564

TEXT : PRATARN TEERATADA
PHOTO CREDIT AS NOTED

(For English, press here

ปี 2564 เป็นปีที่ผู้คนประสบความยากลำบากกันถ้วนหน้า ทั้งจากปัญหาโรคระบาดและเศรษฐกิจ art4d ได้คุยกับ อังกฤษ อัจฉริยโสภณ ศิลปิน คิวเรเตอร์ และผู้ก่อตั้ง อังกฤษแกลเลอรี่ (เชียงราย) และ Artist + Run Gallery เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยตลอดปี 2564 และนิทรรศการศิลปะที่เขาชื่นชอบที่สุดของปีที่ผ่านมา

art4d: ในรอบปี 2564 ที่ผ่านมานี้ภาพรวมวงการศิลปะของไทยเป็นอย่างไรบ้าง?

Angkrit Ajchariyasophon: ถึงแม้ว่าการระบาดของ COVID -19 มีผลทำให้ต้องหยุดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม หรือต้องเลื่อนนิทรรศการศิลปะออกไปอย่างไม่มีกำหนด ช่วงปลายปีเราก็ยังพอจะได้ดูงานนิทรรศการดีๆ หลายงาน ไม่ว่าจะเป็นงานนิทรรศการ ‘Extended Release’ โดย ปรัชญา พิณทอง และ นิทรรศการ ‘Keep in the Dark’ โดย ตะวัน วัตุยา ที่ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นิทรรศการ ‘Oblivion’ โดย อริญชย์ รุ่งแจ้ง ที่ Nova Contemporary นิทรรศการ ‘Poetry of Death, we are all alone…how ghosts found us’ โดย พัชราภา อินทร์ช่าง ที่ Cartel Artspace

Extended Release Exhibition l Photo: Ketsiree Wongwan

Keep in the Dark Exhibition l Photo courtesy of Art Centre, Silpakorn University

Keep in the Dark Exhibition l Photo courtesy of Art Centre, Silpakorn University

แต่ที่จุดประกาย จนกลายเป็นกระแสรุนแรงในวงการศิลปะไปทั่วโลก คือ การที่ศิลปิน Beeple ขายผลงาน NFT ผ่านสำนักประมูล Christie’s ในราคา $69 ล้านเหรียญ หรือกว่า 2,200 ล้านบาท

Beeple, Everydays: The First 500 Days | Photo courtesy of christies.com

ปี 2564 เรียกได้ว่าเป็นปีแจ้งเกิดงานศิลปะ NFT ศิลปินไทยจำนวนมาก เปลี่ยนงานจิตรกรรมของตัวเองให้ดุ๊กดิ๊ก ขยับได้ เปลี่ยนภาพสีน้ำมันเป็น JPEG ก็กลายเป็นงาน NFT ขึ้นมาแล้ว แต่เจ้าของพื้นที่ตัวจริง คือ กลุ่มศิลปินรุ่นใหม่ ที่คุ้นเคยอยู่กับวัฒนธรรมเกมส์, Music, Street Art, Graphic, Graffiti และ Character Design ต่างสมัครเริ่มต้นเปิดแกลลอรี่แบบไม่ต้องมีนายหน้าคนกลาง โชว์ผลงานปล่อยของและขายผลงานของตัวเองบน Marketplace อย่าง OpenSea หรือ Foundation ซึ่งมีศิลปินจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จ และอีกจำนวนที่มากกว่าได้จมหายลงไปในทะเลเปิด หากสนใจวงการศิลปะ ปี 2565 นี้ ต้องห้ามกระพริบตา เราจะได้ชมงานนิทรรศการศิลปะแบบ Hybrid ที่มีทั้งงาน Physical ผสมกับ NFT แบบซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง หรือ จะคอยชื่นชมความคิดสร้างสรรค์โต้คลื่น Web 3.0 กันสนุกไปเลย

Oblivion Exhibition l Photo: Tempat Ketsomboon

Oblivion Exhibition l Photo: Tempat Ketsomboon

art4d: ในปี 2565 นี้ คุณมีความคาดหวังอะไรกับวงการศิลปะบ้าง?

AA: ผมหวังจะได้เห็นงานศิลปะที่มีพลัง สะท้อนคุณค่าความเป็นมนุษย์​ ให้แรงบันดาลใจ และ สร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ไม่ว่างานนั้นจะอยู่ในรูปแบบใด

Poetry of Death Exhibition l Photo courtesy of Pacharapa Inchang

Poetry of Death Exhibition l Photo courtesy of Pacharapa Inchang

Poetry of Death Exhibition l Photo courtesy of Pacharapa Inchang

art4d: นิทรรศการศิลปะที่ชอบที่สุดในปี 2564 คืองานอะไร?

AA: ตอบได้ทันทีเลย ชอบงานนี้ Unforgetting History ของ ศิริศักดิ์ แซ่โง้ว กำลังแสดงอยู่เลยที่ Cartel ทุกอย่างคือเครื่องปั้นดินเผา

ผลงานชุด ‘Blue Dust’ ฝุ่นละอองธุลีสีน้ำเงินถูกดีดสี (Stencilling) บนแผ่นกระเบื้องเคลือบขาว เป็นรูปผู้คน ไร้ใบหน้าที่มาร่วมชุมนุม เข้าประชิด ขัดขืน ถูกจับกุม ล็อคคอ ลากถู และ หิ้วปีก จำนวน 16 ภาพ

Unforgetting History Exhibition l Photo: Preecha Pattara

ผลงานชุด ‘Censored’ เป็นแผ่นกระเบื้องเคลือบขนาดเล็ก ประกอบกันเป็นพิกเซลวางเรียงตัวเป็นประโยค ถ้าจะอ่านให้ออก ต้องหรี่ตามัวเหมือนสายตาที่ เพิ่งตื่นยามฟ้าสว่าง หรือเบลอๆ อยู่ในภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น หรือจะเห็นความจริงภาพใต้การเซ็นเซอร์ ได้ ก็ต้องลี้ไปอยู่ในระยะที่ไกลออกไปมากๆ แผ่นดินเผาเป็นรูปร่างอาวุธปืน ต่างชนิด ต่างขนาด จำนวน 25 กระบอก เรียงตัวกันเป็นรูปปิรามิด แขวนบนผนัง ชื่อผลงานว่า ‘History of guns’ โดยกระบอกที่อยู่ปลายยอดของปิรามิด เป็นปืนสั้นที่ประทับหมายเลข ‘090689 ’ซึ่งไปตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน 2489

Unforgetting History Exhibition l Photo: Preecha Pattara

Unforgetting History Exhibition l Photo: Preecha Pattara

ผลงานต่อมาชื่อ ‘Colt (M1911)’ เป็นเครื่องปั้นดินเผารูปปืนสั้นปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติ โค้ลท์ กัฟเว่อร์ เมนท์โมเดลขนาด .45 นิ้ว (M1911) จำนวน 8 กระบอก แขวนเรียงเป็นรูปสัญลักษณ์ คล้ายตรา สวัสติกะของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซ้อนกัน 2 ชั้น

Unforgetting History Exhibition l Photo: Preecha Pattara

Unforgetting History Exhibition l Photo: Preecha Pattara

และงานชุด ‘Untitle’ ที่ประกอบไปด้วย ปฏิทินแขวนผนัง ปฏิทินตั้งโต๊ะรูปดอกกุหลาบสีเหลือง รูปภาพเหตุการณ์การชุมนุม การสังหารหมู่ ทหารสีน้ำเงิน คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค QR code แก้ว กาแฟ ก้นบุหรี่ หนังสือเล่ม โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์เก่า เก้าอี้เหล็กพับ กระดาษเอกสาร ทั้งหมดทำขึ้น มาจากเครื่องปั้นดินเผา และ ปกคลุมพื้นที่ทั้งหมด ด้วยเศษปลอกกระสุนชนิดต่างๆ ที่ทำขึ้นจากดิน เผาเช่นเดียวกัน

Unforgetting History Exhibition l Photo: Preecha Pattara

Unforgetting History Exhibition l Photo: Preecha Pattara

ศิลปิน ศิริศักดิ์ แซ่โง้ว สร้างจำลองวัตถุพยานต่างๆ ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย ขึ้นจากการปั้นดินเป็นตัว ศิลปินได้ลวงตาเราด้วยงานศิลปะในประเทศที่ต้องการให้ผู้คนหลงลืมความจริง

Unforgetting History Exhibition l Photo: Preecha Pattara

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *